ความเป็นมาของการก่อสร้างวัดโขงขาวนั้น ท่านสาธุชน เป็นเพียงได้รับฟังการบอกเล่าต่อๆ กันมา หาบันทึกเป็นหลักฐานยืนยันยังไม่ได้ ข้าพเจ้าขอถ่ายทอดจากการที่ได้รับฟังมาจาก “ผู้รู้”บางท่าน อาจจะผิดถูกบ้าง ขอให้ถือเป็น “ตำ-นาน” ฉบับพิเศษ หรือว่าเป็น “นิทานธรรม” ของสุนิสา วงศ์ราม ก็แล้วกัน
“ท่าน” เล่าให้ฟังตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 โน่นแล้วว่า ที่พวกเรามาทำนุบำรุงวัดโขงขาวนั้น เพราะเคยมีความผูกพันมาตั้งแต่ปางก่อน วัดนี้สร้างสมัน ท่านแม่จามเทวี (อ่านว่า จา-มะ-เท-วี) หรือ พระแม่จามเทวี หรือพระแม่เจ้าจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่ง อาณาจักรหริภุญชัย ทางเหนือของดินแดนสุวรรณภูมิ คือ บริเวณจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ในประมาณ พ.ศ.1200
ท่านแม่จามเทวี
ตามคำนานของโยนกนคร พรแม่จามเทวี หรือพระนางจามเทวี เป็นราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้หรือลพบุรี ทรงมีเชื้อสายขอม (ไม่ใช่เขมร) มีพระราชสวามี คือ “พระเจ้ารามราช”แห่งกรุงสุโขทัยในราชวงศ์พระร่วง ขณะที่พระนางทรงพระครรภ์ 3 เดือน ประมาณ พ.ศ.1204จำเป็นต้องแยกจากพระราชสวามี เพื่อไปครองเมืองเชียงใหม่ เนื่องจาก พระดาบสวาสุเทพ และสุทันตดาบสได้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้น (จังหวัดลำพูนในปัจจุบัน แต่หาผู้เหมาะสมมีคุณสมบัติที่จะไปเป็นกษัตริย์ครองเมืองไม่ได้ และเห็นว่า ราชธิดาพระเจ้ากรุงละโว้มีบุญญาการความสามารถมาก
จึงได้อัญเชิญและขอร้องให้พระราชธิดา คือ พระแม่เจ้าจามเทวีขึ้นไปครองราชย์สมบัติ ณ หริภุญชัย นครแห่งใหม่ ดังนั้น ท่านแม่จามเทวี สุดที่จะหลีกเลี่ยงได้ จึงเสด็จฯ ล่องไปโดยทางเรือด้วยความยากลำบาก ไปตามลำน้ำใช้เวลา 6 เดือน ด้วยขัติยะมานะความอดทนเป็นอย่างสูงและพระปฏิญาณปัญญา หลังจากเสร็จสิ้นพิธีราชาภิเษกไม่กี่วัน พระแม่เจ้าประสูติพระโอรสฝาแฝด 2องค์พระนามว่า เจ้าชายมหันตยศ และ เจ้าชายอนันตยศ
พระนางจามเทวี ทรงครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์แห่งหริภุญชัยนคร 54 ปี จากนั้นทรงมอบให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือเจ้ามหันตยศ ขึ้นครองราชย์แทน ประมาณปี พ.ศ.1258 ส่วนราชโอรสองค์น้อง เจ้าอนันตยศ นั้น พระฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ ได้สร้างเมืองแห่งใหม่ให้ไปครอง คือ นครเขลางค์ หรือ ลำปางในปัจจุบัน
ในยุคสมัยท่านแม่จามเทวี ประชาชีอยู่เย็นเป็นสุข ประเทศชาติมั่งคั่งร่ำรวยด้วยสินแร่ ปละทรัพยากรธรรมชาติ ผู้คนมีศิลมีสัจจ์มั่นคงในพระพุทธศาสนา และมีอภิญญาสมาบัติกันมาก
อาณาจักรหริภุญชัย เจริญรุ่งเรืองต่อมาอีกประมาณ 600 ปี จนถึง พ.ศ.1825 พระเจ้าเม็งรายจากอาณาจักรล้านนา นครเชียงใหม่ ให้ผนวกหริภุญชัยไว้ในอำนาจการปกครองเพราะผู้ครองนครรุ่นหลังอ่อนแอ และอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองเข้มแข็ง
สมัยก่อนแต่โบราณกาล ท่านพุทธบริษัท ได้ดินแดนสุวรรณภูมิที่มีความเจริญรุ่งเรืองนั้น มีผู้คนอยู่รวมกันเป็น “เมือง” หรือ “อาณาจักร” มีพื้นที่กว้างขวางบ้าง เล็กๆ บ้าง ตั้งอยู่ห่างกันโดยอิสระ มีสัมพันธไมตรีต่อกันบ้าง ผลัดเปลี่ยนการเป็นใหญ่ในการปกครองบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ “ผู้นำ” หรือ “กษัตริย์”ของแต่ละอาณาจักรว่าเข้มแข็งหรืออ่อนแออาณาจักรทีเข้มแข็งกว่าก็จะโดดเด่นเป็นเจ้า ที่อ่อนแอกว่าก็จะถูกยึดครองหรือสลายไป อาณาจักรต่างๆ เช่น หริภุญชัย สุโขทัย ศรีวิชัย ลพบุรี ล้านา ศรีอยุธยา ทวาราวดี เชียงแสน เชียงรุ้ง เขลางค์นคร เป็นต้น
วัดโขงขาว
ในสมัยพระจ้าจามเทวี การสร้างวัดเป็นนโยบายการแผ่ขยายราชอำนาจพระบารมีโดยสันติวิธี แทนการยึดครองพื้นที่โดยการรบพุ่ง เมื่อมีการสร้างวัดขึ้นมา ชาวประชาก็จะมาสร้างบ้านแข่งเมืองอยู่ใกล้วัด
เนื่องจากวัดและพระสงฆ์ เป็นศูนย์รวมวิชาวิทยาการต่างๆ และการสร้างวัดนั้น เป็นการสร้างกุศลเผยแพร่ธรรมะพระศาสนาอีกด้วย พระแม่เจ้าจึงได้จัดส่งคณะออกไปหาทำเลที่เหมาะสมและดำเนินการ
ในสมัยเดียวกันนั้น “ท่าน” บอกว่า ยังมีเจ้าเมืองเชียงใหม่ หรืออาณาจักรล้านนาซึ่งเป็นชายได้สร้างวัดแข่งกับท่านด้วย แต่วิธีการต่างกัน เจ้านครล้านนา นิยมการสร้างวัดในเมืองใกล้บ้านดังที่เราเห็นอยู่ในเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน ส่วนท่านแม่จามเทวี ทรงมีวิสัยทัศน์ไกล โปรดการสร้างวัดนอกเมือง ในทำเลเหมาะและห่างไกล เพราะว่าที่ใดมีวัด ที่นั่นจะเป็นเมืองมีประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐาน อย่างเช่น วัดโขงขาวแห่งนี้ เป็นหนึ่งในวัดตามนโยบายขยายเมืองในที่สวยงามเหมาะสม แต่ทว่าน่าเสียดายที่พระแม่เจ้าฯ เสด็จทิวงคตก่อนที่วัดจะแล้วเสร็จสมบูรณ์
นาย”ราเชนทร์” จากชมรมวิชชุเวทย์ธรรมปฏิบัติ เล่าว่า สมัยที่ทำการก่อสร้างวัดโขงขาวนั้น บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์มั่งคั่ง ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส สดชื่นร่างกายสูงใหญ่ สมส่วนสวยงามทั้งชายและหญิง ความสูงของท่านผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ (เช่นพระเจ้ารามราช) ประมาณ 2 เมตรเศษ
วัดโขงขาวในปัจจุบันตั้งอยู่บนดินแดนที่เป็นเนินสูง มีป่าไม้เบญจพรรณ ทิวทัศน์สวยงาม ร่มรื่นมีแหล่งน้ำ มีบ้านเรือนล้อมรอบมากมาย คล้ายเป็นอีกเมืองใหม่สำหรับเจ้าชายอีกคนไปครอง
นาย “ราเชนทร์” บอกด้วยว่า มีการแห่แหนเป็นขบวนเกียรติยศ จากหริภุญชัยไปยังดินแดนที่วัดโขงขาวปัจจุบัน เป็นขบวนใหญ่ “ท่านแม่” นั่งเสบียงมีราชองครักษ์แบกหามไปทรงเครื่องแต่งองค์สวยงามมาก มงกุฎก็งามกว่านางงามจักรวาลหลายล้านเท่าเครื่องประดับของเหล่าบริวาร เป็นท่องคำแท้ เป็นเพชรและอัญมณีล้ำค่า เธอบอกด้วยว่าแม้เครื่องประดับช้างทรงของท่านแม่แล “เจ้าชาย” ล้วนแล้วแต่อัญมณีและที่สำคัญผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นสุขมาก
ส่วนตัวนายราเชนทร์เองสมันนั้น เธอบอกว่า ได้ร่วมขบวนแห่งแหนตามเสด็จด้วย แต่อยู่ในขบวนเด็กๆ ที่แต่งตัวสวยงาม พาหนะสำคัญในสมัยนั้น คือ ช้างและมีสัตว์พาหนะอย่างอื่นๆ บ้าง เช่น ม้า วัว ควาย ฯลฯ แต่อย่าลืมว่า บรรพบุรุษของเราสมัยนั้นหลายท่านเป็น “ผู้ทรงญาณ” มีอภิญญาสมาบัติทั้งที่เป็นฆราวาสและพระ หรือนักบวชห่มขาว ฉะนั้นการเดินทางไกลจึงเป็นเรื่องไม่เหนือวิสัยสำหรับท่านผู้มีวิชชา นายราเชนทร์ว่าไว้อย่างนี้ และที่ข้าพเจ้าคิดในตอนแรกว่า
วัดโขงขาวไกลจากอาณาจักรหริภุญชัยมากนั้น “ท่าน” เมตตาบอกว่า “สมัยก่อนเขาไม่นับว่าไกลเมื่อเดินทางไปกลับได้ภายในวันเดียว ผู้คนร่างกายแข็งแรงมีธมมะ มีวิชชาเดินเหินได้รวดเร็ว พาหนะก็มีใช้ ช้าง ม้า วัว วาย เรือ เสลี่ยง คานหาม จึงไม่ไกล ที่ไกลกว่านี้ยังมีอีก”ก็ตรงกับที่นาย “ราเชนทร์” เธอเล่าให้เราฟัง
เมื่อพระแม่เจ้าทิวาคตแล้วอีกประมาณ 30 ปี ต่อมามีพระองค์หนึ่งเดินทางธุดงค์มาที่วัดโขงขาวซึ่งเรารู้จักท่านในนาม “หลวงปู่โขง” เท่านั้น ที่รานได้ทะนุบำรุงบูรณะวัดโขงขาวจนเจริญรุ่งเรือนต่อมาอีกหลายสิบปี น่าเสียหายที่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับหลวงปู่องค์นี้ มีแต่คำเล่าขานเล็กน้อยเท่านั้น
วัดโขงขาวในอดีต
วัดโขงขาวเป็นวัดหนึ่ง ที่มีความผูกพันกับลูกหลานพุทธบริษัทของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษี พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี หลวงพ่อฤๅษีท่านได้นำคณะลูกหลานพุทธบริษัทจัดงานทอดกฐินสามัคคีครั้งแรกที่ขัดโขงขาวแห่งนี้ เมื่อปีพ.ศ. 2525 เพื่อทำนุบำรุงวัด และสนับสนุนเจ้าอาวาส พระครูปิยรัตนาภรณ์
หลวงพ่อท่านได้มีเมตตาชักชวนข้าพเจ้าให้ไปด้วยกันในครั้งนั้น และในการต่อมาข้าพเจ้าได้ติดตามท่านไปอีกเกือบทุกครั้ง ยกเว้นบางคราวที่ติดราชการงานบ้านเมืองอื่นๆ จึงต้องงดบ้าง ครั้งสุดท้าย ก่อนที่หลวงพ่อท่านจะละขันธ์ 5 ท่านได้นำพาพุทธบริษัทลูกหลานไปจัดงานกฐินสามัคคีเมื่อปี พ.ศ. 2534 ตอนนั้น ก่อนที่ท่านจะเดินทางท่านได้กล่าวไว้เป็นนัยที่ซอยสายลมกรุงเทพฯ ว่า “...การเดินทางไปไกลๆ คงเป็นครั้งสุดท้ายที่พ่อจะไป เพราะสังขารพ่อป่วย เดินทางไกลไม่ไหว...”
ในปลายปี พ.ศ.2535 วันที่ 30 ตุลาคม หลวงพ่อฤๅษีของเราก็ได้ละขันธ์ 5 ไว้เบื้องหลัง ให้ลูกหลานที่เคารพท่าน ระลึกถึงความดี ความเมตตากรุณาของท่านพร้อมทั้งสืบสานปฏิปทาในฐานะ “ลูกกตัญญู”
พระครูปลัดอนันต์ พัทธญาโณ ท่านเจ้าอาวาสวัดท่าซุง ต่อมาก็ได้กระทำการเหมือนสมัยที่ “หลวงพ่อ”ท่านยังอยู่ คือนำผู้คนพุทธบริษัทไปจัดทอดกฐินสามัคคีที่วัดโขงขาวต่อมาจนปัจจุบันนี้
วัดโขงขาวเมื่อข้าพเจ้าไปเยือนเป็นครั้งแรกนั้น เกิดความรู้สึกว่าคุ้นเคยกับสถานที่เหมือนเคยรู้จักมาก่อน ไม่แปลกถิ่นแปลกที่ทั้งๆ ที่เพิ่งเคยไปภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย เป็นครั้งแรกพร้อมหลวงพ่อและคณะในคราวนั้นเมื่อ พ.ศ.2526
วัดโขงขาวสมัยที่ข้าพเจ้าพบเห็น เป็นวัดที่กำลังปรับปรุงพัฒนา พื้นที่อาณาเขตของวัดไม่กว้างขวาง ประมาณ 2 ไร่เศษ อาคารสถานที่ก็มีเพียงโบสถ์เก่าหลังหนึ่ง ซึ่งชำรุดมากอยู่ระหว่างซ่อมแซม ศาลาหลังหนึ่ง อาคารที่พักของหลวงพ่อฤๅษี และคณะพระ ที่พระบุญรัตน์ กันตจาโร (พระครูปิยรัตนาภรณ์) เพิ่มสร้างขึ้นเพื่อรับรองหลวงพ่อของเราเป็นพิเศษ (ส่วนญาติโยมที่พักในศาลา ในโบสถ์ ระเบียงรอบโบสถ์) กุฏิเจ้าอาวาส ที่พักพระเณรหนึ่งหลังห้องน้ำห้องส้วมไม่มากนัก โรงครัวเล็กๆ (ปรุงอาหารเลี้ยงแขกใช้พื้นที่โล่งๆ ) ส่วนพระเณร อาคันตุกะก็พักที่โบสถ์เก่า โดยที่ทางวัดจัดถุงซีเมนต์ตราเสือเป็นฝากั้น มีไม้ไผ่วัสดุหาง่ายตามธรรมชาติในสมัยนั้น มาทำเป็นโครงฝา กั้นศาลารายรอบโบสถ์ เป็นที่พักชั่วคราวเป็นสัดส่วนก็เป็นการดัดแปลงนำถุงซีเมนต์วัสดุไม่ใช้แล้ว มาใช้ใหม่ “รียูส” ตามภาษาฝรั่งวิชาการ
วัดโขงขาวสมัยนั้น ค่อนข้างขาดแคลน ทรุดโทรม ประชาชนรอบๆ อาณาบริเวณก็ไม่ค่อยจะเข้าวัดเพราะมีแต่คนคอยขัดขวางตลอดเวลา พุทธศาสนิกชนก็เป็นกลุ่มคนที่ทำมาหากินไม่คล่องตัว นอกจากนี้ยังมีบุคคลจำนวนหนึ่งที่ไม่ประสงค์คดีต่อวัด เคยก่อปัญหาให้เจ้าอาวาสมากพอดู แต่ว่าด้วยความอดทนและความเมตตากรุณา รวมทั้งการเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของท่านเจ้าอาวาส ทุกอย่างจึงผ่านพ้นไปด้วยดี มีประชาชนญาติโยมได้รับการสงเคราะห์จากอาจารย์บุญรัตน์ และติดตามมาทำบุญวัดต่อๆ มา แม้ว่ากำลังศรัทธา ที่เป็นหลักสำคัญซึ่งทำบุญทะนุบำรุงวัดแบบไม่ประสงค์สิ่งของทางโลกตอบแทน ส่วนใหญ่เป็นคณะบุคคลจากกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันในปี พ.ศ.2540 วัดโขงขาวเจริญรุ่งเรืองเหลืองอร่ามอีกครั้ง แม้จะไม่เท่าเมื่อแรกเริ่มการก่อสร้างสถาปนาวัด พื้นที่ของวัด จากเดิมประมาณ 2 ไร่เศษ ได้เพิ่มขึ้นเป็น 14,463 ตารางวา พร้อมกับมีเสนาสนะก่อสร้างอีกมากมาย คล้ายเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งด้วยศรัทธาพุทธบริษัท ญาติโยม และลูกหลานหลวงพ่อฤๅษี พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง ผู้ริเริ่มการให้การสนับสนุนวัดนี้
ที่มา
http://www.watkongkaw.com/index.php?option=com_content&view=article&id=13&Itemid=36
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น