พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร ตำบลป่าโมก อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
วัดป่าโมกวรวิหาร จังหวัดออ่างทอง อยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกห่างจากอำเภอ เมืองอ่างทองไป ๑๘ กิโลเมตร ครับ ตามเส้น ทางหลวงหมายเลข ๓๐๙ สายอ่างทอง- อยุธยา เดิมมีวัด ๒ วัด อยู่ติด กัน คือ วัดตลาดกับวัด ชีปะขาว เป็นที่ประดิษฐานพระ พุทธไสยาสน์ที่ งดงามมากองค์หนึ่งของประเทศไทย
มีความยาวจากพระเมาลี ถึงปลายพระบาท๒๒.๕๘ เมตรก่ออิฐถือปูนปิดทอง องค์พระนี้สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสุโขทัยมีประวัติความ เป็นมาน่าอัศจรรย์ เล่าขานมาว่าได้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัดราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาไว้ที่ริมฝั่ง แม่น้ำ
ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนจะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชได้ เสด็จมาชุมนุมพลและถวายสักการะ บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ ในปีพ.ศ. ๒๒๖๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้ เสด็จมาควบคุมการชลอองค์พระให้พ้นจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพังไปไว้ ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาด ห่างจากฝั่ง แม่น้ำ ๑๖๘ เมตรแล้ว
โปรดให้รวมทั้งสองวัดเป็นวัดเดียวกันพระราชทานนามว่า วัดป่าโมก เพราะบริเวณ นั้นมีต้นโมกมากมาย ภาพวาดจำลองงานชะลอพระพุทธไสยาสน์
ตำนานเรื่องเล่าพระพุทธรูปพูดได้วัดป่าโมก
เรื่องมหัศจรรย์อภินิหารของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนจำนวนมากเคารพนับถือ มีร่ำลือกันมามากมายหลายเรื่อง แต่เรื่องหนึ่งที่มีการจารึก ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ก็คือเรื่อง พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง พูดได้ โดยผู้บันทึกก็คือ พระครูปาโมกข์มุนี เจ้าอาวาสวัดป่าโมก
พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ยาว ๒๒.๕๘ เมตร เดิมอยู่ริมแม่น้ำ ไม่มีประวัติว่าใครสร้างและสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ใน พ.ศ. ๒๒๖๘ น้ำได้เซาะตลิ่งใกล้เข้ามาจนพระพุทธรูปใกล้จะพังลงน้ำ ขุนนางข้าราชการได้ทูล ขอเสนอพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระให้รื้อออกแล้วสร้างใหม่ แต่พระยาราชสงคราม ผู้ถนัดเรื่องช่าง
และเป็นผู้ขุดคลองโคกขามที่คดเคี้ยวให้เป็นเส้นตรง ขอรับอาสาย้ายเข้ามาให้ห่างตลิ่งโดยไม่ทำให้พระพุทธรูปเสียหาย พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระไม่ทรงเชื่อว่าจะย้ายพระพุทธรูปใหญ่และหนักขนาดนั้นได้แต่พระยาราชสงครามรับรองด้วยชีวิตและพระราชาต่างคณะต่างก็ไม่เห็นด้วยในการจะทุบทำลายพระพุทธรูป พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้ชะลอองค์พระเข้ามาให้ห่างฝั่งตามคำทูลเสนอ
พระยาสงครามได้เริ่มงานชะลอพระพุทธไสยาสน์โดยขุดดินใต้ฐาน แล้วสอดท่อนซุงเรียงเข้าไปหลายท่อนเรียงกันตลอด จากนั้นก็ใช้กำลังคนชักลากฐานให้เลื่อนไปบนท่อนซุงที่กลิ้งไป เมื่อถึงที่อันเหมาะแล้วพระเจ้าท้ายสระจึงให้สร้างวิหารครอบไว้ยั่งยื่นมาจนถึงทุกวันนี้
ส่วนเหตุการณ์มหัศจรรย์ที่ถูกจารึกไว้ เกิดขึ้นในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ เวลาประมาณ ๖ โมงเย็น โดยอุบาสิกาเหลียน อยู่บ้านเอกราช แขวงป่าโมก หลานของพระภิกษุโต ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าโมก ได้เอาใบ้ไม้มาต้มให้พระภิกษุโตซึ่งเป็นอหิวาตกโรคฉัน ก็ปรากฏว่าพระภิกษุโตหายจากโรคอหิวาต์อย่างมหัศจรรย์
พระครูปาโมกข์มุนี จึงซักถามอุบาสิกาเหลียนถึงที่มาของยา อุบาสิกาเหลียนก็ว่าขอมาจากพระพุทธไสยาสน์ และยังคุยว่าพระพุทธไสยาสน์เป็นหลวงพ่อของนาง เมื่อต้องการสิ่งใดก็จะไปขออยู่เสมอ แม้แต่ถามไถ่เรื่องต่างๆ ก็จะมีเสียงตอบกลับมาจากพระอุระพระครูปาโมกข์มุนี จะขอเข้าไปฟังด้วย อุบาสิกาเหลียนก็ไม่ขัดข้อง
พระครูปาโมกข์มุนีนั่งอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระพุทธไสยาสน์ ห่างประมาณ ๔ ศอกอุบาสิกาเหลียนก็จุดธูปเทียนและเอาใบ พูล ๑ ใบทาปูนพับเป็นสี่เหลี่ยม หมาก ๑ ซีกยาสูบ ๑ มวน ใส่ในพานบูชาแล้วอธิษฐานดังๆ ให้ได้ยินกันทั่วว่า
"นิมนต์หลวงพ่อเอาของในพานนี้ไปฉันด้วยเถิด"
ประมาณ ๒ นาที ของที่ถวายอยู่ในพานก็หายไปอย่างน่าอัศจรรย์ พระครูปาโมกข์มุนี ยังไม่หายสงสัย ถามอุบาสิกาเหลียนว่าจะขอพูดกับหลวงพ่อเองได้หรือไม่ ก็มีเสียงตอบมาจากพระอุระว่า "ได้"
ท่านพระครูจึงถามว่า "หลวงพ่อสุขสบายดีหรือ?"
มีเสียงตอบว่า "สบายดี"
พระครูถามต่อไปว่า "หลวงพ่อสุขสบายแล้วจะให้ความสุขสบายแก่กระผมบ้างไม่ได้หรือ?"
มีเสียงตอบว่า "พระครูก็สุขสบายอยู่แล้ว"
พระครูถามต่อไปว่า "จะให้สุขสบายยิ่งขึ้นกว่านั้นได้หรือไม่"
มีเสียงตอบว่า "ไม่ได้"
พระครูซักอีกว่า "เหตุใดจึงไม่ได้"
หลวงพ่อตอบว่า "เดือนยี่กับเดือนห้าจะเกิดอหิวาตกโรค"
พระครูซักต่อไปว่า "ทำไมท่านจึงทราบได้ แล้วไม่ทราบเรื่องหยูกยาบ้างหรือ ถ้าทราบช่วยบอกให้คนทั้งปวงด้วย"
หลวงพ่อตอบว่า "ไม่ต้องกินยาหรอก กินน้ำมนต์ก็หาย"
พระครูถามต่อว่า "เดือนยี่กับเดือนห้ายังอีกนาน จะเวียบเทียนถวายจะชอบหรือไม่"
หลวงพ่อบอกว่า "ชอบ"
พระครูถามว่า "จะให้ทำข้างขึ้นหรือข้างแรม"
หลวงพ่อตอบว่า "ข้างแรม"
พระครูถามว่า "เครื่องดีดสีตีเป่าจะต้องใช้หรือไม่"
หลวงพ่อไม่ตอบ ....
พระครูถามต่อว่า "คนที่มาเวียนเทียนจะขอน้ำมนต์ไปดื่มตั้งแต่เดือยอ้าย จะคุ้มไปถึงเดือนยี่ เดือนห้าได้หรือไม่"
หลวงพ่อยืนยันว่า "ได้"
สักขีพยานทั้ง ๓๐ คน ต่างได้ยินคำโต้ตอบนี้โดยทั่วถึงกันวันต่อๆ มาพระครูโมกข์มุนียังมาสนทนากับพระพุทธไสยาสน์อีกโดยมีสักขีพยานมาร่วมฟังด้วยทุกครั้ง จึงได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ไว้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เพื่อยืนยันว่าพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกข์ เมืองอ่างทองพูดได้
เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวง(รัชกาลที่ ๕)แวะมานมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมก ได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
"มีอำแดงคนหนึ่งไปบอกหลวงพ่อพระนอน ขอให้ช่วยรักษาลุงซึ่งป่วย พระนอนนั้นบอกตำรายา แต่มิได้ตอบทางพระโอษฐ์เสียงก้องออกมาจากพระอุระ พระครูไม่เชื่อจึงได้ลองพูดดูบ้าง ก็ได้รับคำตอบทักทายเป็นอันดี แต่นั้นมาพระครูได้รักษาไข้เจ็บป่วยด้วยยานั้น เป็นอะไรๆ ก็หาย ห้ามมิให้เรียกขวัญข้าวค่ายา นอกจากหมากคำเดียว"
สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้นอกจากพระพุทธไสยาสน์แล้วยังมี วิหารเขียนซึ่งเล่ากันว่า ผนังวิหารด้านที่หันออกสู่แม่น้ำมีแท่นสูงเข้าใจว่าเป็นแท่นที่เคยมีกษัตริย์เสด็จประทับยืนบริเวณนั้น มณฑปพระพุทธบาท ๔ รอย หอไตร เป็นต้น
...ข้อมูลเพื่อการเดินทางไปวัดป่าโมกวรวิหาร
กิโลเมตรที่ ๔๐ แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๒๙ จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๕๐๑ จะเห็นป้ายทางไปวัดป่าโมก
...งานนมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกซึ่งจัดขึ้นปีละ ๒ ครั้ง คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ และแรม ๑ ค่ำเดือน ๔ ช่วงหนึ่ง และอีกช่วงหนึ่งระหว่างขึ้น ๑๒ – ๑๕ ค่ำ และแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี
....วัดป่าโมกวรวิหารตั้งอยู่ที่
เลขที่ ๑/ง ถนนป่าโมกราษฎร์บำรุง ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
เที่ยวชม นมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร ตำบลป่าโมก อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
http://www.danpranipparn.com/web/board/show.php?Category=tourbun&No=368
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น